วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประวัติ รถจักรยานเก่า



จักรยานคันแรกได้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2377 โดย Kirkpatrick Mcmillan แห่งสกอตแลนด์ ได้ดัดแปลงแบบมาจาก Jeen Theson หลักฐานนี้ได้พบในอียิปต์และในปอมเปวี ซึ่งได้เขียนภาพไว้บนผนังปูนป็น

จักรยานได้วิวัฒนาการมาตามลำดับ จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2408 Pierre Michaux และ Pierre Lallement ได้ประดิษฐ์จักรยานขึ้นใหม่ โดยมีบันไดถีบเหมือนจักรยานในปัจจุบัน และมีสายโซ่โยงไปยังเพลาล้อหลัง แต่อย่างไรก็ตามจักรยานในสมัยก่อนยังไม่มีล้อกันสะเทือน ทำให้เวลาเคลื่อนที่จะสะเทือนมาก
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2422-2428 ได้มีการดัดแปลงให้มีความปลอดภัยมากขึ้น ได้ถูกออกแบบใหม่และปรับปรุงให้ดีขึ้นโดย J.K. Starley มีการอัดลมเข้าไปในยางรถเพื่อกันสะเทือน ในปี พ.ศ. 2436 ประดิษฐ์เบรกให้รถหยุดได้ตามต้องการในปี พ.ศ. 2441 มีผู้ออกแบบให้รถมีล้อหน้าและล้อหลังจนในที่สุดจักรยานก็มีสภาพเหมือนใน ปัจจุบัน
การแข่งขันจักรยานครั้งแรกเป็นการแข่งขันจากนครปารีสไปเมืองรูออง ประเทศผรั่งเศส เมื่อปี พ.ศ. 2412 โดยมีนักจักรยาน ชื่อ James Moore ชาวอังกฤษเป็นผู้ชนะเลิศ สหพันธ์จักรยานนานาชาติ (International Cycling Union หรือ Union Cycling International, U.C.I)
ได้ก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2443 ณ นครปารีส ประเทศฝรั่งเศสเป็นประธานสหพันธ์คนแรกในปี พ.ศ. 2507 เมื่อมีการแข่งขันจักรยานจึงได้มีนักกีฬาจักรยานอาชีพเข้าร่วมแข่งขันกับนัก กีฬาสมัครเล่นด้วย ทำให้นักจักรยานสมัครเล่นเกิดความเสียเปรียบเป็นอย่างมาก ดังนั้น ระหว่างที่มีการแข่งขันกีฬาโอลิมปิก ครั้งที่ 18 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น คณะกรรมการโอลิมปิกสากลได้ขอร้องให้สหพันธ์จักรยานนานาชาติ (U.C.I.) ได้แยกนักกีฬาจักรยานอาชีพกับนักกีฬาจักรยานสมัครเล่นออกจากกัน โดยมีการบริหารแยกออกจากกันอย่างเด็ดขาด ดังนั้น การแข่งขันจักรยานสมัครเล่นครั้งแรกได้เกิดขึ้นในกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 19 ปี พ.ศ. 2511 ณ กรุงเม็กซิโก ประเทศเม็กซิโก

วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556



VELOCETTE คือ ชื่อของยี่ห้อรถของมอเตอร์ไซค์ ที่ผลิดขึ้นที่เมืองเบอร์มิงแฮม ประเทศอังกฤษ ที่ดำเนินงารโดยบริษัท Veloce Ltd. ผู้ก่อตั้งบริษัท คือ จอร์น ชาย หรือ จอร์น เทเลอร์ กับ william Gue ได้ร่วมกันก่อตั้งเมื่อ ปี 1905 ในช่วงแรกบริษัทได้ผลิดรถ 4 จังหวะ แต่ต่อมาเมื่อปี 1913 บริษัทก็ได้ปรับเปลี่ยนมาผลิดเครื่องแบบ 2 จังหวะแทน และต่อมาก็ได้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยได้มีการผลิดในรุ่น K ในปี 1920 เป็นเครื่องยนต์ขนาด 350 ซีซี ส่วนในปี 1933 ก็เป็นการเริ่มต้นในสายการผลิดของรหัส M ซึ่งเป็นการลดต้นทุนจากรหัส K ที่มีต้นทุนในการผลิดสูงมากโดยเริ่มต้นที่ขนาด 250 ซีซี และรหัส MAC ที่เพิ่มขนาดขึ้นเป็น 350 ซีซี และพัฒนาต่อยอดมาที่ขนาด 500 ซีซี ในรหัส MSS นี้ก็เป็นเพียงเรื่องราวส่วนย่อของ VELOCETTE ที่กว่าจะมาถึงรุ่นที่เราจะนำเสนอต่อพี่น้องชาวคลาสสิค ว่าที่มีที่มาอย่างไร ส่วน VELOCETTE รุ่นที่เรานำมาให้ชมกันนี้จะเป็น 
VELOCETTE LE SERIES ในรหัสนี้เริ่มถูกผลิดขึ้นเมื่อปี 1948 ซึ่งเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในรหัส LE จะมีถึง 3 มาร์ค ซึ่งในรุ่น LE ซีรี่ย์แรกนี้ จะถูกออกแบบในด้านประโยชน์การไช้งานให้ง่ายขึ้น ตรงที่พักเท้าจะเป็นบอร์ดแบบยาว ซึ่ออกแบบมา เพื่อท่านสุภาพสตรีที่ชอบใส่ส้นสูงให้สามารถขับได้โดยไม่เป็นอันตราย โครงสร้างเป็นแบบโครงเหล็กถูกออกแบบมา เพื่อให้รับแรงกด ได้ดี ด้านเครื่องยนต์ถูกยึดติดอยู่บนยางเพื่อลดการสั่นสะเทือนที่มาจากเครื่องยนต์ เครื่องยนต์มีขนาด 150 ซีซี 4 จังหวะ ระบายความร้อนด้วยน้ำซึ่งจะเห็นได้จากรถรุ่นนี้จะมีหม้อน้ำ ด้านสวิทซ์ไฟเกจ์วัดต่าง ๆ ถูกจัดวางให้ง่ายต่อการมอง ส่วนเกียร์เป็นแบบกระปุกเกียร์ 3 เกียร์ (เกียร์มือ) ระบบขับเคลื่อนให้เจ้ารถหน้าตาแปลกคันนี้ให้วิ่งไปข้างหน้าเป็นแบบ ใช้เพลา ขับเคลื่อนขนาดของวงล้อทั้งด้านหน้า และหลัง ขนาด 19 ขิ้ว รัดด้วยยางขนาด 3.00 เหมือนกัน ความเร็วสูงสุดที่เจ้า LE ทำได้อยู่ที่ 50 mph ด้านถังน้ำมันที่ซ่อนอยู่ในโครงรถมีความจุถึง 5.7 ลิตร เสร็จสรรพแล้ว เจ้า VELOCETTE LE มีน้ำหนักรวม 150 กิโลกรัม


YAMAHA YG1 ผลิดขึ้นไนปี 1963 ซึ่งถือว่าเป็นยุคแรกๆ ของสายการผลิดรถจักรยานยนต์ YAMAHA รถจักรยานยนต์คันแรกที่ผลิดออกมานั้นมีชื่อรุ่นว่า YA1 ผลิดขึ้ในปี 1955 ห่างกับ YG1 เพียงแค่ 8 ปีเท่านั้น แต่วิวัฒนาการของ YG1 นั้นเปลี่ยนจากรุ่นอื่นๆ ที่ผลิดออกมาก่อนอย่างเห็นได้ชัดด้วยรูปทรงที่ดูเพรียวบางกว่ารุ่นก่อนๆ เพราะตัวเฟรมเป็นแบบปั้มขึ้นรูปYAMAHA YG1 ได้ออกสู่ตลาดครั้งแรกในปี 1953 ซึ่ได้รับความสำเร็จทั้งในประเทศญี่ปุ่น และ สหรัฐอเมริกา ในยุคนั้นถือได้ว่า YG1 เป็นรถจักรยานยนต์ที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับ 1 เลยทีเดียว ทำไห้ YAMAHA YG1 กลายเป็นรถในฝันของใครหลายๆ คนในยุค 70's ถ้าคิดจะซื่รถจักรยานยนต์สักคัน YAMAHA YG1 ก็ถือว่าเป็นหนึ่งในตัวแรกๆ ด้วยรูปทรงที่ดูหรูหรา ขับขี่สบาย เครื่องยนต์มีขนาดความจุถึง 72 ซีซี 2 จังหวะจุดระเบิดด้วยหน้าทองขาว เกียร์ 4 สปีด ขับเคลื่อนด้วยโซ่ คาบูเรทเทอร์เป็นของ MIKUNI ระบบสตาร์ทด้วยเท้า ไฟหน้าหลังของเดิมไช้ไฟ 6V ไฟเลี้ยวของเดิมใช้ไฟ 6V โช้คหน้าเทเลสโคปิค โช้คหลังสวิงอาร์มโช้คน้ำมัน เบรคหน้าหลังดรัม ขนาดวงล้อหน้า 17x1.20-1.4 ขนาดวงล้อหล้ง 17x1.40-1.4 ขนาดยางหน้า 2.50/17 ขนาดยางหลัง 2.60/17 หัวไฟแบบเรื่อนไมล์ มีเพลทโลโก้ติดอยู่ เรื่อนไมล์บอกความเร็ว 120 KM/H เป็นงัยครับได้ทราบประวัติกับข้อมูลของเจ้า YAMAHA YG1 กันไปแล้ว หน้าหาสะสมกันมั้ยละครับ


อีกหนึ่งผลงานการออกแบบจาก บริษัท ซูซูกิ มอเตอร์ ประเทศญี่ปุ่น ที่ทำไห้คนไทยต้องต้องควักกระเป๋า ซื่อรถจักรยานยนต์ จากตัวแทนจำหน่าย และสามารถทำไห้คู่แข่งจากค่ายปีกนกที่ส่งรถจักรยานยนต์รุ่น S90 ออกมาทำตลาดก่อนหน้านี้ ต้องยอมรับความเป็นจริง

SUZUKI A100 ผลิดขึ้นในปี ค.ศ.1966 โดยพัฒนามาจากรุ่น A70 และ A80 ที่ผลิดขึ้นมาก่อนหน้านี้ A100 เป็น รถจักรยานยนต์ สูบเดียว 2 จังหวะ ที่มีพิกัด กระบอกสูบ 98 ซีซี ระบายความร้อนด้วยอากาศ (air cooled) ใช้ระบบโรตารี่ทำหน้าที่ จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผสมกับน้ำมันหล่อลื่น เข้าสู่ห้องเผาไหม้ จุดระเบิด ด้วยคอยล์ ควบคุมระบบด้วยหน้าทองขาว และ แบตเตอร์รี่ 6 โวลท์เป็นตัวช่วย สามารถรีดเเรงม้าได้ถึง 9.3 แรงม้าที่ 7500 รอบต่อนาที ระบบกันสะเทือนหน้าเป็นแบบปัจจุบันนิยม (telescopic) ที่มากับชุดห้ามล้อดรัมเบรก ล้อหน้าขนาด 17 นิ้ว รัดด้วยยางขนาด 2.50 x 17 นี้ว ส่วนระบบกันสะเทือนหลังแบบ สวิงอาร์ม โช้คน้ำมันคู่ ระบบห้ามล้อแบบดรัมเบรกเช่นเดียวกับล้อหน้า ล้อหลังขนาด 17 นิ้ว รัดด้วยยางขนาด 2.50 x 17 นิ้ว

รถโบราณอินดี้ honda



รถมอเตอร์ไซค์ยี่ห้อฮอนด้า รุ่นที่แม่ๆ ป้าๆ ใช้ขี่ไปตลาดจับจ่ายซื้อของเป็นที่คุ้นตา โดยเฉพาะในต่างจังหวัด วันนี้กลับเป็นที่ชื่นชอบของคนหนุ่มสาวในเมืองหลวง พยายามขวนขวายหามาเป็นเจ้าของสักคัน จากนั้นนำมาแปลงโฉมจนสวยงามเอี่ยมอ่อง แม้เจ้าของเดิมมาเห็นก็อาจจะจำไม่ได้ โดยเฉพาะราคาที่เปลี่ยนไปจนแม่บ้านหลายคนต้องแปลกใจว่าอย่างนี้ซื้อรถใหม่ไม่ดีกว่าหรือ 

ความ คลาสสิก คงจะเป็นคำตอบเดียวที่ผู้นิยมรถเก่ารุ่นนี้จะอธิบายแทนความหลงใหลของพวกเขาได้ แม้จะวิ่งไม่เร็ว ซิ่งไม่ได้ แต่ความภาคภูมิใจเวลาขี่รถคันเก๋แปลกตาบนท้องถนน คงเป็นสิ่งที่หาไม่ได้จากรถรุ่นใหม่เครื่องแรงทั่วไป รถมอเตอร์ไซค์ยี่ห้อฮอนด้า ซี เริ่มเข้ามาขายในเมืองไทยตั้งแต่ปี 1958-1959 โดยเริ่มจากรุ่นที่มีไฟหน้าติดตั้งอยู่บริเวณด้านบนส่วนหน้าของรถ หรือที่เรียกว่ารุ่นไฟบนนั้นจะเข้ามาก่อน จากนั้นรุ่นไฟล่างจึงตามเข้ามาทีหลังในปี 1966 แต่เพิ่งไม่กี่ปีมานี้เองที่ฮอนด้า ซี ได้รับความนิยมจากนักเล่นรถเก่า ซึ่งไม่ใช่เพียงกลุ่มวัยรุ่น นักศึกษาเท่านั้น แต่ยังมีคนทำงานที่ชอบเก็บสะสมรถโบราณอีกด้วย 

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ประวัติ รถเต่า



รถโบราณโฟล์คเต่า มีขึ้นเมื่อ 22 มิถุนายน 1934 เมื่อคณะกรรมการสมาคมอุตสาหกรรมรถยนต์แห่งชาติเยอรมนี หรือ RDA-REICHSVERBAND DER DEUTSCHEN AUTOMOBILINDUSTRIE ได้มอบหมายให้ดร.เฟอร์ดินัน พอร์ชออกแบบรถยนต์ของประชาชน (PEOPLE’S CAR) ซึ่งในภาษาเยอรมันเรียกว่าVOLKSWAGEN นั่นเอง
โฟล์คเต่ารุ่นต้นแบบคันแรกเสร็จสิ้นการพัฒนาเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 1936 มาพร้อมระบบช่วงล่างแบบทอร์ชันบาร์ ระบบเบรกเป็นแบบกลไกก้านบังคับ ไม่ใช่ระบบไฮดรอลิกเหมือนรถยนต์ปัจจุบัน และที่เครื่องยนต์มีการติดตั้งยางแท่นเครื่อง ซี่งหลายคนมองว่าเป็นจุดเริ่มต้นของแนวคิดยางแท่นเครื่อง ตัวเครื่องยนต์เป็นแบบระบายความร้อนด้วยอากาศ มีให้เลือกทั้งแบบ 2 จังหวะ และ 4 จังหวะ ที่มีกำลังสูงสุด 22.5 แรงม้า (HP)
ในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม 1936 รุ่นต้นแบบหรือ V3 (ซึ่งมีการผลิตออกมา 3 คัน) ถูกนำมาทดสอบด้วยการแล่นเป็นระยะทางกว่า 50,000 กิโลเมตร ก่อนมีการทดสอบต่อเนื่องภายใต้รหัสโครงการVVW30 และหลังจากนั้นไม่นานคณะกรรมการก็เห็นชอบในเรื่องเครื่องยนต์ หลังจากถกเถียงกันอยู่นานก็มาลงตัวที่บล็อก 4 สูบนอน หรือบ็อกเซอร์ ระบายความร้อนด้วยอากาศ
อย่างไรก็ตาม แม้ว่าการพัฒนาจะมีขึ้นตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1930 แต่กว่าที่โฟล์คเต่า จะได้รับการผลิตเพื่อจำหน่ายสู่ตลาดต้องรอกันจนถึงเดือนธันวาคม 1945 หรือหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง โดยในเดือนนั้นมีการผลิตออกมาเพียง 55 คันเท่านั้น

ประวัติ รถเวสป้า




     เวสป้าเกิดที่เมืองฟลอเรนซ์ แต่เมืองที่ถือเป็นบ้านเกิดของเวสป้าที่แท้จริงคือเมืองปอนเตเดราเมืองอุตสาหกรรมในแคว้นทัสกานี ซึ่งเป็นที่ตั้งโรงงานของบริษัท พิอาจิโอในปัจจุบันเป็นเมืองเล็กๆที่ชื่อไม่คุ้นหูนักท่องเที่ยวชาวไทยสักเท่าไหร่ แต่สำหรับคนรักรถเวสป้า นี่คือเป้าหมายที่ห้ามพลาด
     เวสป้าไม่ใช่แค่มอไซค์สกู๊ตเตอร์ แต่เป็นไอดอลทางการออแบบยานพาหนะ ผสมผสานระหว่างเทคโนโลยีความคิดสร้างสรรค์ ความน่าสนใจของเวสป้า ไม่ได้เป็นแค่สัญลัษณ์ของประเทศอิตาลี แต่มันยังข้ามน้ำข้ามทะเล โอนสัญชาติชีวิตในเมืองไทยนานหลายสิบปี เราพบเห็นเวสป้าได้ตามตลาดนัดโปสเตอร์โฆษณายุคเก่า ในโรงรถของนักสะสมมอเตอร์ไซค์คลาสสิค ราวกับเป็นส่วนหนึ่งของคนไทยมานาน โรงงานพิอาจิโอไม่ต่างจากโรงงานอุสาหกรรมทั่วไป ที่เซอร์ไพรส์คือการอนุรักษ์เรื่องราวและขั้นตอนในการผลิตเวสป้าไว้เหมือนเดิม ขั้นตอนการประกอบเวสป้าหนึ่งคัน จะเริ่มจากโครงแผ่นเหล็กคุณภาพสูง นำมาขึ้นรูปเป็นทรงประกอบเข้าเป็นเฟรม พ่นสีตามลายที่กำหนด ประกอบเข้ากับเครื่องยนต์และส่วนประกอบอื่นๆ เอกลัษณ์อย่างหนึ่งของเวสป้า คือวิธีการผลิตที่เน้นใช้มนุษย์ เช่น การพ่นสีตัวถัง ในขณะที่โรงงานมอเตอร์ไซค์แบรนด์อื่นใช้เครื่องยนต์ในการพ่นทั้งหมด เวสป้าใช้พนักงานพ่นสีทับ
3-4ชั้น ก่อนส่งไปประกอบต่อ อีกส่วนที่โดดเด่นของเวสป้าคือ การใช้เหล็กเป็นส่วนประกอบหลังในตัวถังในขณะที่แบรนด์อื่นจะใช้พลาสติกมาประกอบเพื่อลดทุนแต่ผลิตได้มากขึ้น แต่เวสป้าไม่เชื่อวิธีนั้น